เทคโบรอิสรเสรีนิยมจอมปลอม
โดย เคซีย์ วอเทอร์แมน เคซีย์ วอเทอร์แมน. บทความต้นฉบับ. Pseudo-Libertarian Tech Bros. 13 พฤษภาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ทุกวันนี้เวลาพูดคำว่า “อิสรเสรีนิยม” (libertarian) คนมักจะนึกถึงอีลอน มัสก์, ปีเตอร์ ทีล และเทคโบรทั้งหลายที่พยายามอ้างตัวว่าเป็นอิสรเสรีนิยม อิสรเสรีนิยมมีชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียงจากการที่คนเหล่านี้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่อีลอน มัสก์ ทำเสมือนว่าตัวเองเป็นประธานาธิบดีโดยพฤตินัย ที่น่าเศร้าก็คือ ไม่มีใครเลยสักคนในนี้ที่เป็นอิสรเสรีนิยมจริงๆ ชาวอิสรเสรีนิยมเชื่อในเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัวกัน สิทธิ์ในทรัพย์สิน ความเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย การไม่ใช้ความรุนแรง (เว้นแต่เพื่อปกป้องตัวเอง) เสรีภาพในการประกอบกิจการและเสรีภาพในการค้าขาย คุณอาจจะเห็นด้วยกับหลักการพวกนี้อยู่แล้วต่อให้ไม่ได้เรียกตัวเองว่าอิสรเสรีนิยม ตรงกันข้าม เทคโบรทั้งหลายไม่ได้เชื่อในหลักการเหล่านี้ พวกเขาเป็นเผด็จการหัวรุนแรงที่แค่ทำทีเหมือนว่ารักเสรีภาพ เริ่มจากคนที่น่ารังเกียจที่สุดในกลุ่มนี้ อีลอน มัสก์ เห็นกันอยู่ตำตามานานก่อนที่เขาจะทำท่าวันทยหัตถ์แบบนาซี ว่ามัสก์แค่คอสเพลย์เป็นอิสรเสรีนิยม มักส์อ้างว่าตัวเองเป็น “ผู้ที่เชื่อในเสรีภาพในการพูดอย่างถึงที่สุด” แต่จุดยืนของเขากลับจำกัดอยู่เพียง[เสรีภาพในการพูดของ]กลุ่มเหยียดผิว พวกต่อต้านชาวยิว และพวกหัวรุนแรงฝ่ายขวา เขายินดีที่จะเซ็นเซอร์โพสต์ในทวิตเตอร์ตามคำร้องขอของรัฐบาลเผด็จการในตุรกี อินเดีย และประเทศอื่นๆ เขาระงับบัญชีนักข่าวที่รายงานข่าวที่เขาไม่ชอบ และลบ…
ความเขลาอย่างมีเหตุมีผล ความบิดเบี้ยวทางความคิด และอนาธิปไตย
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ. Rational Ignorance, Cognitive Distortion, and Anarchism. 24 พฤษภาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในทฤษฎีการเลือกสาธารณะ (public choice theory) แนวคิดเรื่อง “ความเขลาอย่างมีเหตุมีผล” (rational ignorance) หมายถึงการเลือกที่จะไม่หาความรู้ให้กับตัวเองในบางประเด็น เมื่อต้นทุนของการแสวงหาความรู้สูงกว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันสูงกว่าความน่าจะเป็นที่คะแนนเสียงของตนจะส่งผลต่อผลของการเลือกตั้ง หรือสูงกว่าความน่าจะเป็นที่อิทธิพลทางการเมืองของตนจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของนักการเมืองได้ แนวคิดนี้ยังสอดคล้องกับข้อจำกัดของเวลาและพลังงานของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้ว ผู้คนย่อมมีแนวโน้มที่จะทุ่มเททรัพยากรเหล่านั้นให้กับครอบครัว งาน เพื่อน และเพื่อนบ้าน มากกว่าที่จะใส่ใจกับนโยบายสาธารณะ โชคร้ายที่การเลือกไม่หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง ไม่ได้หมายความว่าคนเราจะไม่มีความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เมื่อไรที่เรามีแนวโน้มที่เข้าใจได้ในการจำกัดความพยายามของตัวเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมหรือนโยบายสาธารณะ เราก็มักมีความเห็นที่รุนแรงเกี่ยวกับประเด็นระดับชาติบนฐานของข้อมูลที่มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัดนั้นตามไปด้วย ด้วยเหตุฉะนี้ คนมากมายจึงมีความเห็นรุนแรงเชิงลบ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือมีอคติ ต่อกลุ่ม LGBT คนผิวสี และผู้อพยพ ผมนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาวันนี้หลังจากส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่งเกี่ยวกับเจ้านายของเธอ เธอเล่าว่า “เขาเป็นคนที่มีข้อเสียเต็มไปหมด เราสองคนมีความเชื่อที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราต่างไม่พูดถึงเรื่องนั้นกัน เขาทำดีกับฉันอยู่บ่อยๆ เพื่อตอบแทนเขา…
การเดินหนีและการส่งเสียง
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ. Exit and Voice. 7 พฤษภาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin แนวคิดอิสรเสรีนิยมฝ่ายขวากระแสหลักมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการให้ความสำคัญกับสิ่งที่อัลเบิร์ต โอ. เฮิร์ชแมน เรียกว่า “การเดินหนี” (exit – หรือความสามารถในการหลีกเลี่ยงอำนาจรัฐผ่านการย้ายถิ่นหรือการหลบเลี่ยง) มากกว่า “การส่งเสียง” (voice – หรือการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของระบอบการเมืองการปกครองที่เราใช้ชีวิตอยู่) แนวคิดเรื่องการเดินหนีที่ว่าไม่ใช่เรื่องผิด อย่างที่ชาร์ลส์ จอห์นสันเคยชี้ไว้ ในรัฐที่กดขี่ การหลบเลี่ยงนโยบายที่เป็นอันตรายหรือขัดแย้งกับหลักการของเรานั้นมักมีต้นทุนทางปฏิบัติน้อยกว่าการพยายามเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านั้นผ่านกระบวนการทางการเมือง วิสัยทัศน์ของอิสรเสรีนิยมฝ่ายซ้าย ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาธิปไตยหรือสังคมนิยมเสรี มักจะรวมเอาทั้ง “การเดินหนี” และ “การส่งเสียง” เข้าไว้ด้วยกันในสัดส่วนที่สมดุล แนวทางที่เหมาะสมที่สุดคือ การอำนวยการให้เกิดความร่วมมือแบบไม่ต้องขออนุญาต (permissionless coordination) ให้ได้มากที่สุด ผ่านการจัดองค์กรแบบแนวราบหรือการประสานงานโดยไม่ต้องสื่อสารโดยตรง (stigmergic organization) พร้อมทั้งรับประกันว่า ในทุกกรณีที่จำเป็นต้องมีนโยบายบางอย่างที่ต้องอาศัยข้อตกลงร่วมกัน ทางออกในการตัดสินใจคือกระบวนการแบบประชาธิปไตย ตัวอย่างหนึ่งของโมเดลนี้คือระบบฟีลี (phyle) ของขบวนการลาส อินดิอาส (Las…
เอ.อาร์. ม็อกซอน ว่าด้วยมหาเศรษฐี
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: A.R. Moxon on Billionaires. 26 เมษายน 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin นานๆ ทีเวลาเราได้ยินคนพูดเรื่องอะไรสักเรื่องหนึ่งได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ เราจะอยากแชร์สิ่งนั้นออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผม เรื่องที่ว่าคือ คำอธิบายเกี่ยวกับมหาเศรษฐีและบทบาททางสังคมของมหาเศรษฐีทั้งหลาย โดย เอ.อาร์. ม็อกซอน สิ่งที่พวก[มหาเศรษฐี]ทำคือ การพาตัวเองเข้าไปใกล้แหล่งคุณค่าโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากระบบของมนุษย์ที่ดำเนินไปโดยธรรมชาติ – คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์เป็นมนุษย์และใช้ชีวิตใกล้ชิดกันจนกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “สังคม” อันเป็นต้นกำเนิดของคุณค่าทั้งปวง – จากนั้นก็ขโมยคุณค่าเหล่านั้นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว พวกเขายึดครองคุณค่าที่มนุษย์สร้างขึ้นร่วมกันบางส่วนไว้ – ยึดครองกิจการ กระบวนการ หรือแนวคิดหนึ่งๆ หรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะมนุษย์อยู่ร่วมกันในฐานะสังคม และสำเร็จขึ้นมาได้ก็เพราะมันสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่น – แล้วนำคุณค่าที่พวกเขาได้ขโมยมาอย่างไม่เป็นธรรมนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการครอบครองสิ่งเหล่านั้น จากนั้นก็บิดเบือนมันจนในที่สุดมันไม่สร้างคุณค่าให้ใครอีกเลย นอกจากจะส่งคุณค่ากลับไปให้พวกเขาเท่านั้น สุดท้าย มหาเศรษฐีจะนำคุณค่าที่ยักยอกไว้แต่ผู้เดียวนี้มาใช้เป็นหลักฐานว่าตนเองช่างเป็นบุคคลทรงคุณค่าเหนือใคร ประโยคแรกของม็อกซอนถือเป็นหนึ่งในบทสรุปที่กระชับที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น ในบรรดาข้อโต้แย้งที่นักวิจารณ์ทุนนิยมพยายามเสนอในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมา ข้อความดังกล่าวแทบจะเหมือนกับคำอธิบายของเฮนรี จอร์จ เกี่ยวกับการทำงานของค่าเช่าที่ดินของเจ้าที่ดินแบบคำต่อคำ จอร์จอธิบายว่า เจ้าของที่ดินแค่นั่งอยู่บนผืนดิน อันเป็นทรัพยากรที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้างขึ้น และมีอยู่จำกัดโดยธรรมชาติ ก็สามารถกอบโกยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากทำเลนั้นไปได้…
ทรัมป์ไม่ได้ทำให้ถึงตาย แต่สิ้นหวังเมื่อไร เราจะตายกันหมด
โดย ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. บทความต้นฉบับ: Trump Won’t Kill Us, Doomers Will. 12 มีนาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ขอออกตัวก่อนเลยว่าพวกเราไม่มีวันชนะอย่างแท้จริงได้ ไม่มีทางที่เราจะบรรลุเป้าหมายทางการเมืองทั้งหมดได้แน่ ให้ตายเถอะ พวกเราอาจไม่มีวันไปถึงอนาธิปไตยด้วยซ้ำไป…อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในระดับมวลชน แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างให้เรากลายเป็นพวกสิ้นหวังสิ้นศรัทธา (doomerism) แม้เราจะไม่มีวันบรรลุเป้าหมายได้กระทั่งหนึ่งในสามของที่เราตั้งใจไว้ แต่ถ้าเราถอดใจและเลิกพยายาม เราก็จะยิ่งบรรลุเป้าหมายได้น้อยลงไปอีก มีคนกำลังตายอยู่ทุกวัน และจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีใครตัดสินใจไม่ลุกขึ้นสู้ ใช่ ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง แล้วไงวะ? พวกเราก็ยังต้องสู้ต่อไปอยู่ดี แม้จะรู้สึกสิ้นหวังแค่ไหน แต่อย่าเพิ่งหยุดสู้ เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนเคลื่อนไหวในท้องถิ่น เมื่อไรที่คุณได้เห็นผู้คนชนะในสมรภูมิทางการเมือง ถึงจะเป็นชัยชนะเล็กๆ ก็ตาม เมื่อนั้นคุณจะเริ่มเห็นแสงแห่งความหวัง อย่าจำกัดตัวเองว่าต้องทำงานแค่กับคนฝ่ายซ้าย หรือเฉพาะกับพวกอิสรเสรีนิยมด้วยกัน (หรือแย่กว่านั้น คือร่วมมือกับแค่พวกอนาธิปัตย์ด้วยกันเอง!) จงเปิดใจให้พร้อม ร่วมมือกับบุคคลหรือกลุ่มใดๆ ก็ตามที่พร้อมจะทำงานร่วมกันในประเด็นที่คุณเห็นด้วย ต่อให้คุณจะไม่เห็นด้วยกับพวกเขาในแทบทุกเรื่องที่เหลือ ขอแค่ไม่ไปร่วมมือกับพวกนาซีตัวเป็นๆ หรือไม่ขายวิญญาณให้ปีศาจก็พอ ทำงานร่วมกับใครก็ตามที่คุณทำได้ เพื่อผลักดันเป้าหมายทางการเมืองของคุณให้ไปข้างหน้า แล้วคุณจะเห็นความสำเร็จมากขึ้น…
ความจริงของมายาคติของอิสรเสรีนิยมฝ่ายขวา
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: A Right-Libertarian Myth Meets Reality. 3 มีนาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ตามการตีความของไมเคิล โรเบิร์ตส์ รายงานที่เสนอต่อสหภาพยุโรปในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นำไปสู่การตั้งคำถามครั้งใหญ่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการลงทุนของกลุ่มก้อนการเมืองสายอิสรเสรีนิยมฝ่ายขวา จุดยืนหลักของกลุ่มอิสรเสรีนิยมฝ่ายขวา คือการมองว่าแรงงานต้องพึ่งพิงการลงทุน การลงทุนไม่ว่าจะในรูปของเครดิตหรือตราสารทุนล้วนแต่มีที่มาจากการสั่งสมทุนในอดีต ส่วนกำไรและดอกเบี้ยก็คือผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุน เป็นผลตอบแทนจากการที่นายทุนงดเว้นจากการใช้เงินก้อนนั้น เป็นผลิตภาพส่วนเพิ่มของทุน หรือเป็นอะไรบางอย่างที่ปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเหล่านี้เล็กๆ น้อยๆ สองร้อยกว่าปีที่แล้ว โธมัส ฮอดจ์สกิน นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอังกฤษ ผู้เป็นทั้งนักเสรีนิยมสายคลาสสิกและนักสังคมนิยมในยุคต้นๆ เขียนไว้หนังสือเรื่อง The Natural and Artificial Right of Property Contrasted ว่า เมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ ณ ที่ดินผืนนั้น (absentee land ownership) ที่ดินที่สร้างผลิตผลได้เพียงพอที่จะเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของครอบครัวหนึ่งๆ จึงไม่ถูกใช้งาน เว้นแต่เมื่อมันสามารถสร้างผลิตผลเพียงพอที่จะจ่ายเป็นค่าเช่าให้กับเจ้าของที่ดินด้วยเท่านั้น ทำนองเดียวกัน เขาเขียนไว้ใน Popular Political…
ผลประโยชน์เป็นของใคร? ตลาดเสรีในฐานะคอมมิวนิสม์เต็มรูปแบบ
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: Who Owns the Benefit? The Free Market as Full Communism 12 กันยายน 2012. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin วลีอันเยี่ยมยอดที่อธิบายการทำงานของระบบทุนนิยมในโลกแห่งความเป็นจริงได้เป็นอย่างดี (ผมไม่แน่ใจว่าใครพูดเป็นคนแรก แต่ผมได้ยินมาจากนอม ชอมสกี) คือมัน “ทำให้ความเสี่ยงและต้นทุนเป็นของสังคม แต่ทำให้กำไรเป็นของเอกชน” (The socialization of risk and cost, and the privatization of profit.) นี่เป็นคำอธิบายที่ดีเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐทำภายใต้ระบบทุนนิยมแบบที่เป็นอยู่ซึ่งแตกต่างจากตลาดเสรี ทุกสิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาของทุนนิยมแบบบรรษัท (corporate capitalism) เช่น การเอารัดเอาเปรียบแรงงาน มลภาวะ การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและการวางแผนให้สินค้าเสื่อมคุณภาพ การทำลายสิ่งแวดล้อม และการปล้นชิงทรัพยากร ทั้งหมดล้วนเกิดจากการทำให้ต้นทุนและความเสี่ยงตกเป็นภาระของสังคม แต่ผลกำไรกลับถูกแปรให้เป็นของเอกชน ทำไมการปฏิวัติไซเบอร์เนติกส์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงไม่นำไปสู่การทำงาน 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือทำให้สิ่งจำเป็นพื้นฐานในชีวิตมีราคาถูกลงมาก…
ว่าด้วยทุน แผนที่ และภูมิประเทศ
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: On Capital, Maps, and Terrain 1 พฤศจิกายน 2023. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ผมบังเอิญเจอภาพสกรีนช็อตของทวิตคลาสสิกของอาร์เธอร์ ฉู อันนี้ ทุกครั้งที่ข้อสังเกตลักษณะนี้ปรากฏในสื่อออนไลน์ มันมักจะกระตุ้นให้เกิดกระแสโต้กลับอย่างเลี่ยงไม่ได้ในทำนองว่า “คนงานไม่มีทางทำอะไรได้เลยถ้าต้องคอยสร้างอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือของตัวเอง” ตัวอย่างเช่น เพื่อฉลองวันเกิดของอดัม สมิธ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นิตยสาร Reason ได้ตีพิมพ์ชุดบทความซึ่งหนึ่งในนั้นคือการ์ตูนของปีเตอร์ บัคเคอ ซึ่งมีภาพวิญญาณของสมิธกำลังแอบฟังบทสนทนาระหว่างคาร์ล มาร์กซ์ กับฟรีดริช เองเกลส์ ในภาพ เองเกลส์กล่าวอย่างจริงจัง (พร้อมทุบโต๊ะด้วยสีหน้าบึ้งตึง) ว่า “ยังไงซะ ทรัพย์สินส่วนบุคคลก็ต้องถูกล้มเลิกไป…หลังจากนั้นแรงงานจะบริหารโรงงานด้วยตัวของพวกเขาเอง” สมิธซึ่งดูสับสนตอบกลับว่า “จริงเหรอ ทำยังไงนะ พวกเขาจะซ่อมแซม ขยาย หรือปรับปรุงโรงงานพวกนั้นยังไง สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ทุนไม่ใช่เหรอ” ไม่นานมานี้ บนเฟซบุ๊ก มีคนโพสต์มีมเกี่ยวกับแรงงานที่ผลิตสินค้าได้ 3,000 ชิ้นต่อชั่วโมง แต่ค่าจ้างต่อหนึ่งชั่วโมงที่พวกเขาได้รับกลับซื้อสินค้าได้แค่สามชิ้น คอมเมนต์ตอบกลับเต็มไปด้วยข้อความเช่น “ใช้เครื่องจักรที่มีราคาถึง…
ระบบให้ค่าตามความสามารถเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งเพ
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: Meritocracy is Bullshit 24 กันยายน 2024. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในการสัมภาษณ์ล่าสุดกับจอร์แดน ปีเตอร์สัน อีลอน มัสก์กล่าวว่าค่านิยมข้อหนึ่งของเขาคือ “ระบบให้ค่าตามความสามารถ (meritocracy) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แปลว่าคุณจะก้าวหน้าได้ด้วยทักษะของคุณเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยปัจจัยอื่น” คำว่า “ระบบให้ค่าตามความสามารถ” มักถูกนำเสนอโดยกลุ่มเสรีนิยมว่าเป็นสิ่งที่ดีหากเรามีมันจริงๆ แตกต่างจากระบบที่ไม่ได้ให้คุณค่าตามความสามารถแบบในปัจจุบัน ระบบปัจจุบันมีข้อบกพร่องตรงที่ไม่สามารถให้โอกาสทางการศึกษาและการฝึกอบรมที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน อีกทั้งความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและค่าจ้างก็ไม่ได้สะท้อนมาตรฐานของทักษะและผลการปฏิบัติงานที่เป็นกลางและปรับใช้ได้ทั่วไป แต่ถึงแม้ว่าระบบจะดำเนินการตามกฎข้อนี้แล้วก็ตาม ระบบให้ค่าตามความสามารถก็ยังอาจไม่ใช่ระบบที่พึงปรารถนา ต่อให้ตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไป ระบบให้ค่าตามความสามารถก็ยังเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพราะมันวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่า กรอบเชิงสถาบันที่มีอำนาจครอบงำและมาตรฐานของ “ความคู่ควร” ที่กรอบดังกล่าวกำหนดขึ้นนั้นชอบธรรมโดยไม่ต้องพิสูจน์ สิ่งที่เรียกว่า “ความคู่ควร” หรือ “ทักษะ” ไม่ได้ดำรงอยู่ลอยๆ คนเราสามารถแสดงทักษะก็เมื่อลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น ทักษะในการปฏิบัติงานบางประเภท แนวคิดเกี่ยวกับ “ทักษะ” ในฐานะลักษณะที่เป็นกลางซึ่งสามารถวัดได้อย่างเป็นกลางนั้นละเลยความจริงที่ว่าหน้าที่ต่างๆ ถูกเลือกโดยผู้มีอำนาจและมอบหมายให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในบริบทที่เป้าหมายโดยรวมของสถาบันถูกกำหนดโดยผู้ที่มีผลประโยชน์ในระบบนั้น จริงๆ แล้ว ผู้คนถูกประเมิน “ความคู่ควร” ตามประสิทธิภาพในการรับใช้ระบบอำนาจที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การแสวงหาความมั่งคั่ง และตาม…
สร้างสังคมที่เป็นของส่วนรวมด้วยสหกรณ์ผู้บริโภค
โดย ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. บทความต้นฉบับ: Communizing Society With Consumer Cooperatives 28 กันยายน 2024. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในแวดวงชาวอนาธิปัตย์ มีการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนตลาด กับกลุ่มที่สนับสนุนการวางแผนแบบกระจายศูนย์ เช่น เศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (participatory economics) หรือคอมมูนแบบสหพันธ์ (federated communes) ในขณะที่งานของลุดวิก ฟอน มิเซส และฟรีดริช ฮาเย็ค ชี้ให้เห็นปัญหาหลายๆ อย่างของการวางแผนแบบรวมศูนย์โดยรัฐ ข้อวิจารณ์ลักษณะเดียวกันส่วนมากก็สามารถปรับใช้กับการวางแผนแบบกระจายศูนย์ได้เช่นกัน การวางแผนแบบกระจายศูนย์พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องความรู้ ด้วยการผนวกการมีส่วนร่วมจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้ามาในกระบวนการวางแผนโดยตรงแทนที่จะพึ่งพานักวางแผนส่วนกลางให้ตัดสินใจแทน ในขณะที่สหกรณ์คนทำงาน สหภาพแรงงาน สมาคมวิชาชีพ และสมาคมธุรกิจอื่นๆ เปิดโอกาสให้คนทำงานมีส่วนร่วมในการวางแผนเศรษฐกิจ ระบบดังกล่าวยังต้องการการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในรูปแบบของสภาผู้บริโภค (consumer councils) หรือกลุ่มในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ด้วย อย่างไรก็ดี การชักชวนให้ผู้คนเข้าร่วมกับองค์กรเหล่านี้และมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนในฐานะผู้บริโภคอาจเป็นเรื่องยากกว่า เนื่องจากหลายคนต้องการเพียงแค่บริโภคโดยไม่ต้องจัดประชุมอะไรให้มากความ แน่นอนว่าวิธีแก้ปัญหาทั่วๆ ไปในกรณีนี้ก็คือเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ ในหนังสือ The People’s…
“เงินกับการเมือง” โดย ลอแรนซ์ ลาบาดี
เอริค เอฟ. บทความต้นฉบับ: Laurance Labadie’s “Money and Politics,” 27 มกราคม 2022. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin โดย เอริค เอฟ. เงิน โดยเฉพาะเงินประเภทเครดิต (credit money) คือหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย หากไม่มีเงิน การแบ่งงานกันทำอย่างละเอียดซับซ้อนย่อมดูจะเป็นไปไม่ได้เลยยกเว้นในระบบที่รัฐควบคุมอุตสาหกรรมไว้ทั้งหมด และแม้ในกรณีเช่นนั้นเองก็ตาม เราก็ยังจำเป็นต้องมีบางสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเงินเพื่อควบคุมและตรวจสอบการบริโภค เราจะไม่เข้าใจเงินถ้าไม่คิดถึงมาตรฐานของมูลค่า (standard of value) และฐานของการออกเงิน (basis of issue) ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นการกล่าวว่า “เป็นความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เชื่อว่าเงินต้องมีอะไรมารองรับมูลค่า” จึงเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะเงินในฐานะการอ้างสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่มีแก่นสารกว่าแค่คำมั่นสัญญาเลื่อนลอยเพื่อให้ตัวมันมั่นคง มีเสถียรภาพ หรือเชื่อถือได้ และสิ่งนั้นย่อมต้องเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้ กล่าวคือเป็นอะไรก็ตามที่มีมูลค่าและไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้ การคิดว่าภายในระบบการเงินที่สมเหตุสมผลจริงๆ การกักตุนเงิน (hoarding) จะก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็เป็นแนวคิดที่ไร้สาระเช่นเดียวกันกับการกล่าวว่าผู้ที่เก็บเงินไว้สำหรับใช้ในยามลำบากจะต้องตกระกำลำบากเสียเอง ไม่มีเหตุผลอะไรให้เชื่อว่า การกักตุนเงิน ซึ่งเป็นเพียงการเลื่อนการบริโภคออกไป โดยพื้นฐานแล้วจะเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือการกระจายความมั่งคั่งใดๆ ได้ เมื่อเข้าใจว่าขีดจำกัดตามธรรมชาติของเงินประเภทเครดิตอยู่ที่มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานรองรับ…
ทุนนิยมในฐานะศาสนาและมายาคติเรื่องธรรมชาติของทุน
บทวิเคราะห์ว่าด้วยข้อวินิจฉัยต่อทุนนิยมโดยวอลเตอร์ เบนจามิน เฉียนสื่อ. บทความต้นฉบับ: Capitalism as Religion and The Myth of Capitalist Nature 9 มีนาคม 2019. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin โดย เฉียนสื่อ “เราอาจมองเห็นร่องรอยของศาสนาได้ในทุนนิยม กล่าวคือ ทุนนิยมมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาความกังวล ความทุกข์ทรมาน และความปั่นป่วนที่ศาสนาในอดีตเคยพยายามตอบสนอง” “ทุนนิยมอาจเป็นตัวอย่างแรกของลัทธิความเชื่อที่สร้างความรู้สึกผิดแทนที่จะสร้างการไถ่บาป” – วอลเตอร์ เบนจามิน, Capitalism as Religion “มายาคติไม่ได้ปฏิเสธสิ่งต่างๆ กลับกัน หน้าที่ของมันคือพูดถึงสิ่งเหล่านั้น เพียงแต่มันทำให้สิ่งเหล่านั้นบริสุทธิ์ ให้ดูไร้เดียงสา สร้างความชอบธรรมด้วยการบอกว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมชาติและเป็นนิรันดร์ และให้ความกระจ่างที่ไม่ใช่ในรูปของคำอธิบาย แต่ด้วยการยืนยันข้อเท็จจริง” – โรล็อง บาร์ตส์, Mythologies: Myth Today มีวิธีการมากมายในการอธิบายและแสดงให้เห็นถึงระบบแห่งการครอบงำ กดขี่ กีดกัน แปลกแยก และปล้นชิงที่เราเรียกว่าทุนนิยมนี้ สำหรับวอลเตอร์ เบนจามิน วิธีเดียวที่จะเข้าใจทุนนิยมคือการมองมันเป็นระบบศาสนา ระบบที่คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในพิธีกรรมที่ปราศจากทั้งเทววิทยาและหลักคำสอน แต่ในท้ายที่สุด…
ระดมทุนเพื่อสหกรณ์คนทำงาน: แนวทางแก้ปัญหา
โดย ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์ ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. บทความต้นฉบับ: Funding Worker Cooperatives: A Solution, 20 ธันวาคม 2023. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin นักอนาธิปไตย นักสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ มาร์กซิสต์ และกลุ่มต่อต้านระบบทุนนิยมและกลุ่มหลังทุนนิยม ต่างให้การสนับสนุนสหกรณ์คนทำงาน (worker cooperatives) มาอย่างยาวนาน ในฐานะวิธีการเพื่อส่งเสริมความเป็นเจ้าของของคนทำงาน (worker-ownership) และประชาธิปไตยในที่ทำงานภายใต้ระบบทุนนิยม โครงสร้างภายในของการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยที่เสมอหน้า1 ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาความรู้เฉพาะท้องถิ่นของฮาเย็ค แต่ตามความเห็นขององค์กร Democracy At Work “เมื่อคนทำงานมีสิทธิ์มีเสียงในธุรกิจที่ตนทำ พวกเขาจะยิ่งทุ่มเทและสร้างสรรค์ขึ้น เมื่อมีตัวเลือก คนทำงานจะเลือกลงทุนในธุรกิจของตัวเองแทนที่จะจ่ายค่าตอบแทนสูงๆ ให้กับคนเพียงไม่กี่คน เมื่อถึงเศรษฐกิจขาลง พวกเขาจะยอมลดค่าจ้างร่วมกันแทนที่จะเลือกปลดคนออก พวกเขาจะไม่ลงคะแนนเสียงให้ย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศหรือลงมติเพื่อก่อมลพิษต่อชุมชนของตน การทำให้สถานที่ทำงานเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นการสร้างทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ไม่ใช่คนส่วนน้อย” แต่ความท้าทายใหญ่ที่สุดของสหกรณ์คนทำงานคือ การระดุมเงินทุน (funding) บทความนี้จะสำรวจแนวทางแก้ไขปัญหา 3 แนวทางที่อาจนำมาใช้ได้ทั้งแบบแยกส่วนหรือรวมกัน อันได้แก่ การร่วมลงทุนแบบคอมมูน (venture…
Anarchy and Democracy
Fighting Fascism
Markets Not Capitalism
The Anatomy of Escape
Organization Theory