โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: Meritocracy is Bullshit 24 กันยายน 2024. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในการสัมภาษณ์ล่าสุดกับจอร์แดน ปีเตอร์สัน อีลอน มัสก์กล่าวว่าค่านิยมข้อหนึ่งของเขาคือ “ระบบให้ค่าตามความสามารถ (meritocracy) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แปลว่าคุณจะก้าวหน้าได้ด้วยทักษะของคุณเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยปัจจัยอื่น” คำว่า “ระบบให้ค่าตามความสามารถ” มักถูกนำเสนอโดยกลุ่มเสรีนิยมว่าเป็นสิ่งที่ดีหากเรามีมันจริงๆ แตกต่างจากระบบที่ไม่ได้ให้คุณค่าตามความสามารถแบบในปัจจุบัน ระบบปัจจุบันมีข้อบกพร่องตรงที่ไม่สามารถให้โอกาสทางการศึกษาและการฝึกอบรมที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน อีกทั้งความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและค่าจ้างก็ไม่ได้สะท้อนมาตรฐานของทักษะและผลการปฏิบัติงานที่เป็นกลางและปรับใช้ได้ทั่วไป แต่ถึงแม้ว่าระบบจะดำเนินการตามกฎข้อนี้แล้วก็ตาม ระบบให้ค่าตามความสามารถก็ยังอาจไม่ใช่ระบบที่พึงปรารถนา ต่อให้ตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไป ระบบให้ค่าตามความสามารถก็ยังเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพราะมันวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่า กรอบเชิงสถาบันที่มีอำนาจครอบงำและมาตรฐานของ “ความคู่ควร” ที่กรอบดังกล่าวกำหนดขึ้นนั้นชอบธรรมโดยไม่ต้องพิสูจน์ สิ่งที่เรียกว่า “ความคู่ควร” หรือ “ทักษะ” ไม่ได้ดำรงอยู่ลอยๆ คนเราสามารถแสดงทักษะก็เมื่อลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น ทักษะในการปฏิบัติงานบางประเภท แนวคิดเกี่ยวกับ “ทักษะ” ในฐานะลักษณะที่เป็นกลางซึ่งสามารถวัดได้อย่างเป็นกลางนั้นละเลยความจริงที่ว่าหน้าที่ต่างๆ ถูกเลือกโดยผู้มีอำนาจและมอบหมายให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในบริบทที่เป้าหมายโดยรวมของสถาบันถูกกำหนดโดยผู้ที่มีผลประโยชน์ในระบบนั้น จริงๆ แล้ว ผู้คนถูกประเมิน “ความคู่ควร” ตามประสิทธิภาพในการรับใช้ระบบอำนาจที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การแสวงหาความมั่งคั่ง และตาม…
โดย ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. บทความต้นฉบับ: Communizing Society With Consumer Cooperatives 28 กันยายน 2024. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในแวดวงชาวอนาธิปัตย์ มีการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนตลาด กับกลุ่มที่สนับสนุนการวางแผนแบบกระจายศูนย์ เช่น เศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (participatory economics) หรือคอมมูนแบบสหพันธ์ (federated communes) ในขณะที่งานของลุดวิก ฟอน มิเซส และฟรีดริช ฮาเย็ค ชี้ให้เห็นปัญหาหลายๆ อย่างของการวางแผนแบบรวมศูนย์โดยรัฐ ข้อวิจารณ์ลักษณะเดียวกันส่วนมากก็สามารถปรับใช้กับการวางแผนแบบกระจายศูนย์ได้เช่นกัน การวางแผนแบบกระจายศูนย์พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องความรู้ ด้วยการผนวกการมีส่วนร่วมจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้ามาในกระบวนการวางแผนโดยตรงแทนที่จะพึ่งพานักวางแผนส่วนกลางให้ตัดสินใจแทน ในขณะที่สหกรณ์คนทำงาน สหภาพแรงงาน สมาคมวิชาชีพ และสมาคมธุรกิจอื่นๆ เปิดโอกาสให้คนทำงานมีส่วนร่วมในการวางแผนเศรษฐกิจ ระบบดังกล่าวยังต้องการการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในรูปแบบของสภาผู้บริโภค (consumer councils) หรือกลุ่มในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ด้วย อย่างไรก็ดี การชักชวนให้ผู้คนเข้าร่วมกับองค์กรเหล่านี้และมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนในฐานะผู้บริโภคอาจเป็นเรื่องยากกว่า เนื่องจากหลายคนต้องการเพียงแค่บริโภคโดยไม่ต้องจัดประชุมอะไรให้มากความ แน่นอนว่าวิธีแก้ปัญหาทั่วๆ ไปในกรณีนี้ก็คือเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ ในหนังสือ The People’s…
เอริค เอฟ. บทความต้นฉบับ: Laurance Labadie’s “Money and Politics,” 27 มกราคม 2022. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin โดย เอริค เอฟ. เงิน โดยเฉพาะเงินประเภทเครดิต (credit money) คือหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย หากไม่มีเงิน การแบ่งงานกันทำอย่างละเอียดซับซ้อนย่อมดูจะเป็นไปไม่ได้เลยยกเว้นในระบบที่รัฐควบคุมอุตสาหกรรมไว้ทั้งหมด และแม้ในกรณีเช่นนั้นเองก็ตาม เราก็ยังจำเป็นต้องมีบางสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเงินเพื่อควบคุมและตรวจสอบการบริโภค เราจะไม่เข้าใจเงินถ้าไม่คิดถึงมาตรฐานของมูลค่า (standard of value) และฐานของการออกเงิน (basis of issue) ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นการกล่าวว่า “เป็นความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เชื่อว่าเงินต้องมีอะไรมารองรับมูลค่า” จึงเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะเงินในฐานะการอ้างสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่มีแก่นสารกว่าแค่คำมั่นสัญญาเลื่อนลอยเพื่อให้ตัวมันมั่นคง มีเสถียรภาพ หรือเชื่อถือได้ และสิ่งนั้นย่อมต้องเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้ กล่าวคือเป็นอะไรก็ตามที่มีมูลค่าและไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้ การคิดว่าภายในระบบการเงินที่สมเหตุสมผลจริงๆ การกักตุนเงิน (hoarding) จะก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็เป็นแนวคิดที่ไร้สาระเช่นเดียวกันกับการกล่าวว่าผู้ที่เก็บเงินไว้สำหรับใช้ในยามลำบากจะต้องตกระกำลำบากเสียเอง ไม่มีเหตุผลอะไรให้เชื่อว่า การกักตุนเงิน ซึ่งเป็นเพียงการเลื่อนการบริโภคออกไป โดยพื้นฐานแล้วจะเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือการกระจายความมั่งคั่งใดๆ ได้ เมื่อเข้าใจว่าขีดจำกัดตามธรรมชาติของเงินประเภทเครดิตอยู่ที่มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานรองรับ…
บทวิเคราะห์ว่าด้วยข้อวินิจฉัยต่อทุนนิยมโดยวอลเตอร์ เบนจามิน เฉียนสื่อ. บทความต้นฉบับ: Capitalism as Religion and The Myth of Capitalist Nature 9 มีนาคม 2019. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin โดย เฉียนสื่อ “เราอาจมองเห็นร่องรอยของศาสนาได้ในทุนนิยม กล่าวคือ ทุนนิยมมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาความกังวล ความทุกข์ทรมาน และความปั่นป่วนที่ศาสนาในอดีตเคยพยายามตอบสนอง” “ทุนนิยมอาจเป็นตัวอย่างแรกของลัทธิความเชื่อที่สร้างความรู้สึกผิดแทนที่จะสร้างการไถ่บาป” – วอลเตอร์ เบนจามิน, Capitalism as Religion “มายาคติไม่ได้ปฏิเสธสิ่งต่างๆ กลับกัน หน้าที่ของมันคือพูดถึงสิ่งเหล่านั้น เพียงแต่มันทำให้สิ่งเหล่านั้นบริสุทธิ์ ให้ดูไร้เดียงสา สร้างความชอบธรรมด้วยการบอกว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมชาติและเป็นนิรันดร์ และให้ความกระจ่างที่ไม่ใช่ในรูปของคำอธิบาย แต่ด้วยการยืนยันข้อเท็จจริง” – โรล็อง บาร์ตส์, Mythologies: Myth Today มีวิธีการมากมายในการอธิบายและแสดงให้เห็นถึงระบบแห่งการครอบงำ กดขี่ กีดกัน แปลกแยก และปล้นชิงที่เราเรียกว่าทุนนิยมนี้ สำหรับวอลเตอร์ เบนจามิน วิธีเดียวที่จะเข้าใจทุนนิยมคือการมองมันเป็นระบบศาสนา ระบบที่คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในพิธีกรรมที่ปราศจากทั้งเทววิทยาและหลักคำสอน แต่ในท้ายที่สุด…
โดย ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์ ลอแกน มารี กลิทเทอร์บอมบ์. บทความต้นฉบับ: Funding Worker Cooperatives: A Solution, 20 ธันวาคม 2023. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin นักอนาธิปไตย นักสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ มาร์กซิสต์ และกลุ่มต่อต้านระบบทุนนิยมและกลุ่มหลังทุนนิยม ต่างให้การสนับสนุนสหกรณ์คนทำงาน (worker cooperatives) มาอย่างยาวนาน ในฐานะวิธีการเพื่อส่งเสริมความเป็นเจ้าของของคนทำงาน (worker-ownership) และประชาธิปไตยในที่ทำงานภายใต้ระบบทุนนิยม โครงสร้างภายในของการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยที่เสมอหน้า1 ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาความรู้เฉพาะท้องถิ่นของฮาเย็ค แต่ตามความเห็นขององค์กร Democracy At Work “เมื่อคนทำงานมีสิทธิ์มีเสียงในธุรกิจที่ตนทำ พวกเขาจะยิ่งทุ่มเทและสร้างสรรค์ขึ้น เมื่อมีตัวเลือก คนทำงานจะเลือกลงทุนในธุรกิจของตัวเองแทนที่จะจ่ายค่าตอบแทนสูงๆ ให้กับคนเพียงไม่กี่คน เมื่อถึงเศรษฐกิจขาลง พวกเขาจะยอมลดค่าจ้างร่วมกันแทนที่จะเลือกปลดคนออก พวกเขาจะไม่ลงคะแนนเสียงให้ย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศหรือลงมติเพื่อก่อมลพิษต่อชุมชนของตน การทำให้สถานที่ทำงานเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นการสร้างทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ไม่ใช่คนส่วนน้อย” แต่ความท้าทายใหญ่ที่สุดของสหกรณ์คนทำงานคือ การระดุมเงินทุน (funding) บทความนี้จะสำรวจแนวทางแก้ไขปัญหา 3 แนวทางที่อาจนำมาใช้ได้ทั้งแบบแยกส่วนหรือรวมกัน อันได้แก่ การร่วมลงทุนแบบคอมมูน (venture…