Tag: trans right
โดย เควิน คาร์สัน เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ. Rational Ignorance, Cognitive Distortion, and Anarchism. 24 พฤษภาคม 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin ในทฤษฎีการเลือกสาธารณะ (public choice theory) แนวคิดเรื่อง “ความเขลาอย่างมีเหตุมีผล” (rational ignorance) หมายถึงการเลือกที่จะไม่หาความรู้ให้กับตัวเองในบางประเด็น เมื่อต้นทุนของการแสวงหาความรู้สูงกว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันสูงกว่าความน่าจะเป็นที่คะแนนเสียงของตนจะส่งผลต่อผลของการเลือกตั้ง หรือสูงกว่าความน่าจะเป็นที่อิทธิพลทางการเมืองของตนจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของนักการเมืองได้ แนวคิดนี้ยังสอดคล้องกับข้อจำกัดของเวลาและพลังงานของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้ว ผู้คนย่อมมีแนวโน้มที่จะทุ่มเททรัพยากรเหล่านั้นให้กับครอบครัว งาน เพื่อน และเพื่อนบ้าน มากกว่าที่จะใส่ใจกับนโยบายสาธารณะ โชคร้ายที่การเลือกไม่หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง ไม่ได้หมายความว่าคนเราจะไม่มีความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เมื่อไรที่เรามีแนวโน้มที่เข้าใจได้ในการจำกัดความพยายามของตัวเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมหรือนโยบายสาธารณะ เราก็มักมีความเห็นที่รุนแรงเกี่ยวกับประเด็นระดับชาติบนฐานของข้อมูลที่มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัดนั้นตามไปด้วย ด้วยเหตุฉะนี้ คนมากมายจึงมีความเห็นรุนแรงเชิงลบ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือมีอคติ ต่อกลุ่ม LGBT คนผิวสี และผู้อพยพ ผมนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาวันนี้หลังจากส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่งเกี่ยวกับเจ้านายของเธอ เธอเล่าว่า “เขาเป็นคนที่มีข้อเสียเต็มไปหมด เราสองคนมีความเชื่อที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราต่างไม่พูดถึงเรื่องนั้นกัน เขาทำดีกับฉันอยู่บ่อยๆ เพื่อตอบแทนเขา…